Friday, October 21, 2011

Naratha Jataka : Perfection of Equanimity

ทศชาติ ชาดก : นารทชาดก (มหาพรหมนารท)   ทรงบำเพ็ญอุเบกขาบารมี
"เว้นเราแล้วไม่มีใครสามารถปลดเปลื้องพระเจ้าอังคติราชจากมิจฉาทิฏฐิได้ เราควรจะไปสงเคราะห์พระราชธิดา และทำให้พระราชาพร้อมทั้งบริวารชนเกิดความสวัสดี"

There was a righteous king in Mithila City, by the name of Angghatiraja. He had a daughter named Ruja. They were both virtuous. Later on King Angghatiraja misunderstood the words of Chivok who said there was no sin, no merit, no Thereafter, the everyone was equal, that alms giving was useless, that there was no way to make someone good or bad, that the giver was foolish ans the receiver wise. The King gave up making merit and started turning to sensual pleasures. His daughter, Ruja, tried very hard to convince her father to follow the right path. However she tried, she did not succeed. So she made a wish that the gods inspire her father to renounce his bad behaviour.
Bodhisat (Buddha-to-be) who was then living as Brahma Naratha and had turned himself into a hermit carrying a rattan frame decorated with pearls on his shoulders, came down sitting on King Angghati's throne. The latter asked Brahma Naratha where he came from and where he got his power. Brahma Naratha responded he came from Heaven because he practiced the 4 Dhamma Laws i.e. truth, righteousness, patience and charity in his previous life and his good deeds were the source of his power in this life. The King then asked Brahma Naratha to teach him the way to Heaven. So Brahma Naratha taught him. Thus, the King was convinced and he gave up his wrong behaviour. He started following the right path and ruled his people according to the Ten ways of the King.


**ก่อนอ่านควรทำใจให้ปราศจากเครื่องกังวลทั้งปวง และมีเวลาสักหนึ่งชั่วโมง อ่านไป  ใช้ใจพิจารณาไปด้วย ปัญญาจะพึงเกิดแก่ท่านทั้งหลาย สาธุ**



    นารทชาดก เป็นชาดกที่พระพุทธเจ้าตรัสเล่าถึงเรื่องราวในอดีตชาติของพระองค์ เมื่อครั้งเกิดเป็นมหาพรหมนารทะ ทรงมีปณิธานที่จะบำเพ็ญ "อุเบกขาบารมี"  นารทชาดกปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎก ขุททนิกาย  ชาดก  มหานิบาต และอรรถกถา ขุททกนิกายชาดก มหานิบาต

ขณะตรัสนารทชาดก เป็นตอนต้นพุทธกาล ภายหลังจากที่พระองค์จำพรรษาแรกที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เทศน์โปรดปัญจวัคคีย์จนได้บรรลุพระอรหันต์เป็นสาวกรุ่นแรก ขณะนั้นมีพระอรหันต์เกิดขึ้นในโลก ๖๑ องค์ พระพุทธองค์มีรับสั่งให้ประชุมหมู่ภิกษุสงฆ์ตรัสส่งไปประกาศพระศาสนาว่า 

ภิกษุทั้งหลายเราพ้นแล้วจากบ่วงทั้งปวง  ทั้งที่เป็นของทิพย์ ทั้งที่เป็นของมนุษย์  แม้พวกเธอก็พ้นแล้วจากบ่วงทั้งปวง ทั้งที่เป็นของทิพย์ ทั้งที่เป็นของมนุษย์

พวกเธอจงเที่ยวจาริกไป เพื่ออนุเคราะห์โลก เพื่อประโยชน์เกื้อกูลความสุขแก่ทวยเทพและมนุษยโลกทั้งหลาย พวกเธออย่าได้ไปทางเดียวกันสองรูป จงแสดงธรรมงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด จงประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะให้ครบบริบูรณ์ สัตว์ทั้งหลายจำพวกที่มีธุลีคือกิเลสในจักษุน้อยมีอยู่ เพราะไม่ได้ฟังธรรมย่อมเสื่อม ผู้รู้ทั่วถึงธรรมจักมี

พระพุทธองค์เสด็จกรุงพาราณสีเพียงพระองค์เดียว เพื่อโปรดชฎิล ๓ พี่น้อง  ขณะเสด็จกรุงพาราณสี มุ่งหน้าไปสู่ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม พระพุทธองค์ได้ทรงแวะพักที่ไร่ฝ้ายชื่อ กัปปาสิกวนาสณฑ์ ประทับนั่งที่ร่มไม้ต้นหนึ่ง

ครั้งนั้น ภัททวัคคีย์จำนวน ๓๐ คน พาภรรยามาพักผ่อนอยู่ที่ไร่ฝ้ายนั้น  คนหนึ่งไม่มีภรรยา  พวกเพื่อนๆจึงได้นำหญิงคณิกามาให้  ต่อมาหญิงคณิกาได้ขโมยเครื่องประดับหนีไป พวกภัททวัคคีย์จึงช่วยกันเที่ยวตามหา เห็นพระบรมศาสดาประทับนั่งอยู่ที่ร่มไม้แห่งหนึ่ง จึงเข้าไปเฝ้าแล้วถามว่าเห็นมีสตรีผ่านมาทางนี้บ้างหรือไม่

พระพุทธองค์ทรงย้อนถามว่า พวกเธอต้องการสิ่งใดจากสตรีนั้น พวกเขาตอบว่า สตรีนั้นขโมยเครื่องประดับของเพื่อนพวกเราไป พระพุทธองค์ตรัสว่า ระหว่างการแสวงหาสตรี กับการแสวงหาตนของตนเอง อย่างใดเรียกว่า เป็นความดีสำหรับพวกเธอ  ภัททวัคคีย์ตอบว่า การแสวงหาตน เป็นสิ่งที่ดีกว่า

พระพุทธองค์จึงตรัสว่า ถ้าเช่นนั้น พวกเธอจงนั่งลงเถิด เราจะแสดงธรรมแก่พวกเธอ เมื่อภัททวัคคีย์นั่งลงแล้ว พระองค์ได้แสดงเทศนาชื่อ อนุปุพพิกถา อันเป็นการแสดงหัวข้อธรรมไปตามลำดับจากหัวข้อธรรมง่ายๆ ไปจนถึงหัวข้อธรรมที่ลึกซึ้ง คือเทศนาตั้งแต่ การให้ทาน การรักษาศีล  การไปเกิดในสวรรค์  กามาทีนวกถา ว่าด้วยโทษของความเศร้าหมองในกามทั้งหลาย  และเนกขัมมานิสังสกถา อานิสงส์ของการออกจากกาม

เมื่อพระพุทธองค์ทรงทราบว่าทุกคนมีจิตสงบปราศจากนิวรณ์ มีจิตเบิกบานผ่องใสแล้ว จึงทรงแสดง อริสัจ ๔ ทำให้ภัททวัคคีย์ได้บรรลุพระโสดาบัน ได้ขออุปสมบทกับพระพุทธองค์

โปรดชฎิล ๓ พี่น้อง
ภายหลังจากนั้น พระบรมศาสดาเสด็จจาริกไปโดยลำดับ จนถึงตำบลอุรุเวลาเสนานิคม สมัยนั้นชฎิลสามพี่น้อง คือ อุรุเวลกัสสปะ ประธานของเหล่าชฎิล ๕๐๐ คน นทีกัสสปะ ประธานของเหล่าชฎิล ๓๐๐ คน คยากัสสปะ ประธานของชฎิล ๒๐๐ คน ตั้งสำนักอยู่ ณ อุรุเวลาเสนานิคมนี้

พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จเข้าไปสู่อาศรมของอุรุเวลกัสสปะ หลังจากมีปฏิสันถารกันตามสมควรแล้วจึงตรัสว่า กัสสปะ ถ้าท่านไม่ขัดข้อง เราจะขออาศัยพักอยู่ในโรงบูชาไฟของท่านสักราตรีหนึ่ง

อุรุเวลกัสสปะตอบว่า มหาสมณะ ข้าพเจ้าไม่ขัดข้องเลย แต่ในโรงบูชาไฟนั้นมีพญานาคดุร้าย มีฤทธิ์และพิษร้ายแรงอาศัยอยู่ มันอาจจะทำอันตรายต่อท่านได้

พระบรมศาสดาตรัสว่า เราแน่ใจว่าพญานาคคงจะไม่ทำอันตรายเรา เพียงท่านอนุญาตให้เราพักอาศัยเท่านั้น พระองค์ตรัสถึงสองสามครั้ง อุรุเวลกัสสปะจึงกล่าวว่า มหาสมณะ เชิญท่านพำนักในโรงบูชาไฟตามความประสงค์เถิด

ทรงแสดงปาฏิหาริย์
เมื่ออุรุเวลกัสสปะกล่าวอนุญาตดังนั้นแล้ว พระบรมศาสดาเสด็จเข้าไปสู่โรงบูชาเพลิง ทรงลาดสันถัต ประทับนั่งขัดสมาธิ ตั้งพระกายตรงดำรงพระสติไว้มั่น

ครั้นพญานาคเห็นพระพุทธองค์ เสด็จเข้ามาในโรงบูชาไฟที่ตนอาศัยอยู่รู้สึกไม่พอใจจึงพ่นหวนควันขึ้น พระพุทธองค์ทรงดำริว่า  ควรครอบงำเดชของพญานาคนี้ด้วยเดชของเรา โดยไม่ให้กระทบแม้ผิวหนัง  จึงทรงบันดาลอิทธาภิสังขารให้เกิดควันขึ้นบ้าง พญานาคทนความสบหลู่ไม่ได้จึงพ่นไฟออกมาในทันที  พระพุทธองค์ก็ทรงเข้ากสิณสมบัติ มีเตโชธาตุเป็นอารมณ์ บันดาลไฟต้านทานไว้เช่นกัน

เมื่อไฟของทั้งสองฝ่ายลุกโชติช่วงขึ้น โรงบูชาไฟก็รุ่งโรจน์ปรากฏดุจไฟโหมลุกไหม้ทั่วไป พวกชฎิลต่างกล่าวกันว่า พระสมณะรูปงามคงถูกพญานาคเผาตายไปแล้วแน่

ครั้นราตรีนั้นผ่านไป  เปลวไฟของพญานาคไม่ปรากฏ  แต่เปลวไฟของพระพุทธองค์ยังปรากฏอยู่ เปล่งพระรัศมีประกายต่างๆ คือ สีขาว สีเขียว สีแดง สีหงสบาท สีเหลือง สีแก้วผลึก ซ่านออกจากพระวรกาย  พระพุทธองค์ทรงขดพญานาคไว้ในบาตร  แล้วทรงแสดงแก่ชฎิลนั้น ตรัสว่า นี่พญานาคของท่าน เราสะกดไว้ด้วยเดชานุภาพของเราแล้ว              

อุรุเวลกัสสปะรู้สึกเลื่อมใสในอิทธิปาฏิหาริย์ของพระพุทธองค์ แต่ก็ยังคิดว่า พระมหาสมณะนี้มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมากก็จริง แต่ก็ไม่เป็นพระอรหันต์เหมือนเรา จึงออกปากชวนให้พระพุทธองค์พำนักอยู่ในที่นั้น

พระพุทธองค์เสด็จไปประทับอยู่ ใกล้ป่าแห่งหนึ่ง ไม่ไกลจากอาศรมของอุรุเวลกัสสปะ เมื่อราตรีปฐมยามผ่านไป ท้าวมหาราชทั้ง ๔ มาเฝ้าพระองค์ ถวายบังคมแล้วยืนถวายการอารักขาอยู่ทั้ง ๔ ทิศ  ครั้นรุ่งเช้า  ถึงเวลาภัตตาหาร อุรุเวลกัสสปะเข้าไปทูลถามว่า ยามราตรี ใครเข้ามาหาท่าน มีรัศมีงาม ทำให้ป่าทั้งสิ้นสว่างไสวไปทั่ว พระพุทธองค์ตรัสตอบว่า  ท่านเหล่านั้นคือท้าวมหาราชทั้ง ๔ เข้ามาหาเราเพื่อฟังธรรม  อุรุเวลกัสสปะคิดว่า  พระมหาสมณะมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมากแท้  ถึงกับท้าวมหาราชทั้ง ๔ เข้ามาหาเพื่อฟังธรรม  แต่ก็ไม่เป็นพระอรหันต์เหมือนเราแน่  พระพุทธองค์เสวยภัตตาหารของอุรุเวลกัสสปะแล้ว ยังประทับอยู่ในไพรสณฑ์นั้น  จากนั้น พระพุทธองค์ก็ได้แสดงปาฏิหาริย์ริย์โดยประการต่างๆ จนทำให้อุรุเวลกัสสปะยอมรับ

พระพุทธองค์ตรัสว่า  กัสสปะ ท่านไม่ใช่พระอรหันต์ทั้งยังไม่พบทางแห่งความเป็นพระอรหันต์ แม้แต่ปฏิปทาของท่านที่จะเป็นเหตุให้เป็นพระอรหันต์ หรือพบทางแห่งความเป็นพระอรหันต์ก็ยังไม่มี  อุรุเวลกัสสปะฟังพระดำรัสนั้นแล้ว  ซบศีรษะลงแทบพระบาทของพระพุทธองค์ ทูลขอบรรพชาอุปสมบท เป็นเหตุให้นทีกัสสปะ คยากัสสปะ ผู้เป็นน้องชายพร้อมทั้งบริวารบวชตาม ต่อมาพระองค์ทรงแสดงเทศนา ชื่อ อาทิตตปริยายสูตร โปรดพระภิกษุชฎิล ๓ พี่น้องให้ได้บรรลุพระอรหันต์               

พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่ตำบลคยาสีสะ ตามพระพุทธาภิรมย์แล้ว จากนั้นจึงเสด็จจาริกสู่นครราชคฤห์  พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์จำนวน ๑,๐๐๐ รูป ซึ่งเป็นนักบวชชฎิลเก่า เพื่อโปรดพระเจ้าพิมพสาร ประทับอยู่ที่สวนตาลหนุ่ม เขตกรุงราชคฤห์

พระเจ้าพิมพิสาร ทรงสดับว่า เจ้าชายสิทธัตถะซึ่งออกผนวช บัดนี้ได้บรรลุพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ  ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ทรงประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ  พร้อมทั้งพยัญชนะ  เสด็จมาถึงกรุงราชคฤห์แล้ว ประทับอยู่ในสวนตาล ทรงแวดล้อมด้วยพราหมณ์คหบดีชาวมคธ ๑๒ นหุต (สิบสองหมื่น) เสด็จไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า บางพวกถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วเลือกนั่ง บางพวกทูลปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วนั่ง พวกประคองอัญชลีไปทางพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วนั่ง บางพวกประกาศนามและโคตรของตนแล้วนั่ง บางพวกนั่งนิ่งเฉยอยู่

ครั้งนั้น พราหมณ์คหบดีชาวมคธ ๑๒ นหุตเหล่านั้นเกิดความสงสัยว่า พระมหาสมณะประพฤติพรหมจรรย์ตามท่านอุรุเวลกัสสปะ หรือท่านอุรุเวลกัสสปะประพฤติพรหมจรรย์ตามพระมหาสมณะ

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบความดำริในใจของพราหมณ์คหบดีชาวมคธนั้น  จึงตรัสกับพระอุรุเวลกัสสปะว่า กัสสปะ ท่านอยู่ตำบลอุรุเวลามานาน เคยเป็นอาจารย์สั่งสอนหมู่ชฎิล ท่านเห็นเหตุอันใดจึงยอมละการบูชาไฟ ที่เคยกระทำมาเป็นเวลานาน พระอุรุเวลกัสสปะทูลตอบว่า  ยัญทั้งหลายกล่าวยกย่อง รูป เสียง กลิ่น และรส ว่าเป็นสิ่งที่พึงปรารถนา บัดนี้ ข้าพระพุทธเจ้าทราบจากพระพุทธองค์ว่า สิ่งเหล่านั้นเป็นมลทิน เป็นกิเลส เพราะเหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้าจึงไม่ยินดีในการเซ่นสรวง การบูชา

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า  กัสสปะ เมื่อใจของท่านไม่ยินดีแล้วในอารมณ์ คือ รูป เสียง กลิ่นและรสเหล่านั้น เมื่อเป็นเช่นนั้น ใจของท่านยินดีในสิ่งไรเล่า ท่านยินดีในเทวโลก หรือมนุษยโลก

พระอุรุเวลกัสสปะทูลตอบว่า ข้าพระพุทธเจ้าได้เห็นทางอันสงบ  ปราศจากกิเลส ปราศจากความกังวล ไม่ติดอยู่ในกามภพ ไม่มีภาวะเป็นอย่างอื่น อันเป็นธรรมที่พระองค์แนะให้บรรลุ เพราะฉะนั้น  ข้าพระองค์จึงไม่ยินดีทั้งเทวโลกและมนุษยโลก

เพื่อจะประกาศภาวะที่ตนเป็นพุทธสาวก    จึงซบศีรษะลงที่หลังพระบาทของพระตถาคต  ทูลประกาศว่าขอพระผู้มีพระภาคเจ้า    จงเป็นศาสดาของข้าพระองค์ ข้าพระองค์เป็นสาวกของพระองค์  ดังนี้แล้วเหาะขึ้นสู่เวหาส  ๗  ครั้ง   คือครั้งที่ ๑   สูงชั่วลำตาล ๑ครั้งที่  ๒  สูงชั่ว  ๒  ลำตาล  จนถึงครั้งที่  ๗  สูง  ๗  ชั่วลำตาล   แล้วลงมาถวายบังคมพระตถาคต  นั่งอยู่  ณ  ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง 

มหาชนเห็นปาฏิหาริย์ดังนั้นก็ได้กล่าวสรรเสริญคุณของพระบรมศาสดาว่า น่าอัศจรรย์จริง พระพุทธเจ้ามีอานุภาพมาก     ธรรมดาผู้มีความเห็นผิดที่มีกำลังถึงอย่างนี้  เมื่อสำคัญตนว่า เป็นพระอรหันต์  แม้ท่านพระอุรุเวลกัสสปะ พระองค์ก็ทรงทำลายข่ายคือทิฏฐิทรมานเสียได้

พระผู้มีพระภาคเจ้า  ได้ทรงสดับดังนั้นแล้ว  จึงตรัสว่า  อุบาสกทั้งหลาย การที่เราได้บรรลุสัพพัญญุตญานแล้ว  ทรมานอุรุเวลกัสสปะนี้  ในชาตินี้  ไม่น่าอัศจรรย์เท่ากับในอดีตชาติ  แต่ขณะที่ยังมีราคะโทสะและโมหะ เกิดเป็นพรหมชื่อว่า "นารทะ"   ได้ทำลายข่ายคือทิฏฐิของอุรุเวลกัสสปะ ทำให้หมดพยศ เป็นเรื่องน่าอัศจรรย์กว่า ดังนี้แล้วก็ทรงนิ่งโดยดุษณีภาพ บริษัทนั้นกราบทูลอาราธนาให้ตรัสเล่าให้ฟัง  จึงตรัสเล่าเรื่องในอดีตชาติว่า 

กำเนิดนารทะ                                   
ในอดีตกาล ยังมีพระราชาพระองค์หนึ่งพระนามว่า   "พระเจ้าอังคติราช" ครองราชสมบัติในกรุง มิถิลามหานคร วิเทหรัฐ   พระองค์ทรงตั้งอยู่ในทศพิธราชธรรม  เป็นพระธรรมราชา   พระองค์มีพระราชธิดาองค์หนึ่ง พระนามว่า "เจ้าหญิงรุจาราชกุมารี"  มีพระสิริโฉมงดงาม มีบุญมาก ทั้งฉลาดหลักแหลม ได้ทรงตั้งปณิธานความปรารถนาไว้สิ้นแสนกัป จึงได้มาเกิดในพระครรภ์ของพระอัครมเหสี

ส่วนพระเทวีคนอื่นๆ ของพระองค์มีจำนวนถึง  ๑๖,๐๐๐  คน  ทุกคนเป็นหญิงหมัน เจ้าหญิงรุจาราชกุมารี พระธิดาเพียงพระองค์เดียวจึงเป็นที่โปรดปรานของพระเจ้าอังคติราชยิ่งนัก

พระองค์ได้ทรงจัดผ้าเนื้อละเอียด  ประมาณค่ามิได้พร้อมกับผอบเต็มด้วยดอกไม้นานาชนิด ๒๕ ผอบ ของเสวยที่ประณีตยิ่ง ส่งไปพระราชทานพระราชธิดาทุกวัน นอกจากนั้นพระองค์ยังได้ทรงส่งเงิน ๑,๐๐๐ กหาปณะ ไปพระราชทานทุกกึ่งเดือน สำหรับให้เจ้าหญิงให้ทาน

พระเจ้าอังคติราชมีอำมาตย์ผู้ใหญ่อยู่ ๓ นาย คือ  วิชยอำมาตย์   สุนามอำมาตย์   และอลาตอำมาตย์

ครั้นถึงคืนวันเพ็ญกลางเดือน  ๑๒  ฤดูกาลที่ดอกโกมุทบานสะพรั่งไปทั่ว เป็นเทศกาลมหรพประจำปีของมิถิลามหานคร    ประชาชนต่างพากันตบแต่งพระนครไว้อย่างงดงามตระการตา ตามท้องถนน และที่สาธารณะ ตลอดจนภายในเขตพระราชฐาน ถูกประดับด้วยมวลดอกไม้นานาพันธุ์ มีธงทิว และธงแผ่นผ้าหลากสีเรียงรายต้องลมเหนือโบกสะบัดระรานตา โคมไฟห้อยระย้าส่องเรือนยอดปราสาทราชฐานงดงามยิ่ง

พระเจ้าอังคติราชเข้าโสรจสรงทรงลูบไล้พระองค์ ประดับเครื่องราชอลังการ เสวยพระกระยาหารเสร็จแล้ว เสด็จออกสีหบัญชรไชย ประทับนั่งเหนือราชอาสน์  บนพื้นมหาปราสาท มีหมู่อำมาตย์ ข้าราชบริพาร ตลอดจนกองพลโยธาทุกหมู่เหล่าแวดล้อม     ทอดพระเนตรขึ้นไปบนท้องฟ้า พระจันทร์คืนเพ็ญไร้เมฆหมอกบดบังญ็ญ็ญทรงกรดลอยเด่นอยู่กลางฟากฟ้า จึงมีพระราชดำรัสถามเหล่าอำมาตย์ข้าราชบริพารว่า   ท่านทั้งหลาย    ราตรีอันบริสุทธิ์เช่นนี้น่ารื่นรมย์ยิ่งนัก  ราตรีเช่นนี้เราควรเพลิดเพลินกันด้วยเรื่องอะไรดี  

อลาตะเสนาบดีได้กราบทูลว่า ขอเดชะ พลช้าง พลม้า พลเสนาแห่งมิถิลานครทุกหมู่เหล่า  ล้วนกล้าแกร่ง  พวกข้าพระองค์จะนำทหารฉกรรจ์ออกรบ เมืองใดยังไม่ยอมเป็นข้าขอบขันธสีมา ก็จะนำมาสู่อำนาจของพระองค์ พวกเราจะได้ชัยชนะผู้ที่เรายังไม่ชนะ

สุนามะอำมาตย์กราบทูลว่า   ขอเดชะ พวกศัตรูของพระองค์ล้วนอยู่ในพระราชอำนาจหมดแล้ว ต่างพากันวางศาสตรา ยอมสวามิภักดิ์แล้วทั้งหมด วันนี้เป็นวันมหรสพ เป็นวันที่ควรจะสนุกสนาน การรบข้าพระพุทธเจ้าไม่ชอบใจ ขอให้ประชาชนจัดเตรียมข้าวปลาอาหารมาเพื่อพระองค์ เฉลิมฉลองกันอย่างยิ่งใหญ่ ขอพระองค์จงทรงรื่นรมย์   ด้วยกามคุณ  และการฟ้อนรำ  ขับร้อง  การประโคมเถิดพระเจ้าข้า

วิชยอำมาตย์  ฟังคำอำมาตย์ทั้งสองแล้วเห็นพระองค์นิ่งอยู่ ไม่ทรงยอบรับ ไม่ทรงคัดค้านจึงกราบทูลว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า     กามคุณทุกอย่างบำเรอพระองค์เป็นนิตย์อยู่แล้ว การที่จะทรงเพลิดเพลินด้วยกามคุณ พระองค์ทรงหาได้โดยไม่ยากเลย ทรงปรารถนาเมื่อไรก็ได้ทุกเมื่อ วันนี้เราทั้งหลายควรพากันไปหาสมณะหรือพราหมณ์  ผู้เป็นพหูสูต   รู้แจ้งอรรถธรรม   ผู้แสวงหาคุณ  ซึ่งท่านจะพึงกำจัดความสงสัยของพวกเราได้

พระเจ้าอังคติราช  สดับคำวิชยอำมาตย์แล้วตรัสว่า  ตามที่วิชยอำมาตย์พูดว่า พวกเราควรพากันเข้าไปหาสมณะหรือพราหมณ์  ซึ่งท่านจะคลายความสงสัยของพวกเราได้า ทุกท่านจงลงมติว่า  วันนี้พวกเราควรจะไปหาใคร

อลาตเสนาบดีกราบทูลว่า มีอเจลกะที่โลกสมมติว่าเป็นนักปราชญ์อยู่ในอุทยานมฤคทายวัน อเจลกะผู้นี้ชื่อว่า "คุณะ" ผู้กัสสปโคตร เป็นพหูสูต   พูดจาไพเราะ  เป็นเจ้าคณะ  ท่านจะขจัดความสงสัยของพวกเราได้      พระราชาจึงมีรับสั่งให้สารถีเตรียมการเสด็จไปยังมฤคทายวัน  

พวกนายสารถีได้จัดพระราชยานขบวนเสด็จ ล้วนแล้วแต่ประดับด้วยงา  มีกระพองเป็นเงิน  สำหรับรถพระที่นั่ง เป็นสีขาวผุดผ่อง เทียมด้วยม้าสินธพสีขาวดังสีดอกโกมุท ๔ ตัว   ล้วนเป็นม้าที่มีฝีเท้าเรียบ  วิ่งเร็วดังสายลม  ทั้งฉัตรกั้น ราชรถ  และพัดวีชนี    มีสีขาวล้วน สอดรับกับพระจันทร์คืนเพ็ญในราตรีกาลอันงดงาม

เมื่อพระเจ้าวิเทหราชเสด็จออกจากพระนคร พร้อมด้วยหมู่อำมาตย์ ข้าราชบริพาร และพลทหารผู้กล้าหาญถือหอกดาบตามเสด็จว่องไวดุจสายลม ย่อมงดงามราวพระจันทร์  เคลื่อนไปในพื้นฟ้าในราตรีกาล พระองค์เสด็จถึงป่ามฤคทายวันโดยครู่เดียว  เสด็จลงจากพระราชยาน ทรงดำเนินเข้าไปหาคุณาชีวก  พร้อมด้วยหมู่อำมาตย์

ในค่ำคืนนั้น  มีพราหมณ์และคฤหบดี ตลอดจนประชาชนมาประชุมกันอยู่ในพระราชอุทยานนั้นเป็นจำนวนมาก   

พระเจ้าอังคติราช มิให้พราหมณ์และคฤหบดี ตลอดจนประชาชนที่นั่งอยู่ก่อนลุกออกไป  ทรงให้ข้าราชบริพารนั่งปะปนอยู่ในที่นั้น ทรงปฏิสันถารกกับประชนของพระองค์อย่างไม่ถือพระองค์

ครั้นแล้วพระองค์ได้ตรัสถามทุกข์สุขกับคุณาชีวกว่า  ผู้เป็นเจ้า สบายดีหรือ  มิได้เป็นโรคลมหรือ  อาหารการกินฝืดเคืองหรือไม่   ได้บิณฑบาตพอเลี้ยงชีวิตหรือไม่ หูตาเป็นอย่างไรบ้าง ยังพอมองเห็นปกติดีหรือ

คุณาชีวก ทูลปฏิสันถารกับพระเจ้าวิเทหะว่า ข้าแต่มหาราชา ข้าพระพุทธเจ้าสบายดีทุกประการ    บ้านเมืองของพระองค์ไม่มีปัญหาหรือ ช้างม้าของพระองค์หาโรคมิได้หรือ  พาหนะยังพอใช้การได้ดีหรือ   พยาธิไม่เบียดเบียนพระสรีระของพระองค์หรือ

ครั้นคุณาชีวกทูลปฏิสันถารแล้ว   พระราชาทรงประสงค์จะฟังธรรม  จึงตรัสถามว่า ท่านกัสสปะ นรชนพึงประพฤติธรรมในมารดาบิดา ครูอาจารย์ บุตร ภรรยา ผู้เฒ่าผู้แก่    พลนิกาย ตลอตจนบ้านเมืองอย่างไร  อนึ่งเล่า ผู้คนประพฤติธรรมอย่างไร  ละโลกนี้ไปแล้วจึงจะได้ไปสวรรค์   ส่วนคนบางพวกไม่ตั้งอยู่ในธรรมอย่างไรจึงตกนรก                      

แท้จริง ปัญหานั้นเป็นปัญหาใหญ่ที่พระราชาควรตรัสถามพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า  พระพุทธสาวก และพระมหาโพธิสัตว์   แต่กลับตรัสถามคุณาชีวก  ผู้เปลือยกาย  

ครั้นคุณาชีวกถูกพระเจ้าวิเทหราชถามอย่างนี้ ไม่เห็นคำอธิบายที่เหมาะสม กราบทูลมิจฉาวาทะของตน ว่า 

ขอพระองค์ทรงสดับ ผลแห่งธรรมที่ประพฤติแล้วเป็นบุญเป็นบาปไม่มี  ปรโลกไม่มี  ใครเล่าจากปรโลกนั้นมาโลกนี้  ปู่ย่าตายายไม่มี  มารดาบิดาจะมีที่ไหน ขึ้นชื่อว่าอาจารย์ไม่มีใครจะฝึกผู้ที่ฝึกไม่ได้  สัตว์ทุกจำพวกทุกหมู่เหล่าเสมอกันหมด  ผู้ประพฤติอ่อนน้อมตนต่อผู้ใหญ่ไม่มี   กำลังหรือความเพียรไม่มี บุรุษผู้มีความเพียรจะได้รับผลแห่งความเพียรแต่ที่ไหน สัตว์ที่เกิดตามกันมา  เหมือนเรือน้อยห้อยท้ายเรือใหญ่ สัตว์ย่อมได้สิ่งที่ควรได้ตามสัญชาตญาณ  แล้วผลทานจะมีแต่ที่ไหน ผลทานไม่มี  ผลแห่งความเพียรก็ไม่มี   ทานคนโง่บัญญัติไว้ คนฉลาดรับทาน  คนโง่สำคัญตัวว่าฉลาด  จึงให้ทานแก่คนฉลาดทั้งหลาย

ครั้นคุณาชีวกทูลพรรณนาการให้ทานไม่มีผลอย่างนี้แล้ว จึงพรรณนาการทำบาปไม่มีผลต่อไปว่า

รูปกายเป็นที่รวม  ดิน  น้ำ   ลม  ไฟ   สุข ทุกข์ และชีวะ จึงเป็นของเที่ยง  ไม่ขาดสูญ  รูปกายของสัตว์ชื่อว่าขาดสูญไม่มี  ผู้ที่ถูกฆ่า  ถูกตัด หรือเบียดเบียนใดๆ ก็ไม่มี  ศาสตราทั้งหลายเป็นเพียงสิ่งที่ผ่านไปในระหว่างรูปกายเท่านั้น  ผู้ที่ตัดศีรษะผู้อื่นด้วยคมดาบ  จึงไม่ชื่อว่าตัดร่างกาย   แล้วผลบาปจะมีแต่ที่ไหน  

สัตว์ทุกจำพวกทุกหมู่เหล่าท่องเที่ยวอยู่ในวัฏสงสารจนถึง  ๘๔  มหากัป  ย่อมบริสุทธิ์ได้เอง เมื่อยังไม่ถึงกาลนั้น  แม้จะสำรวมดีอย่างไร แม้จะประพฤติดีอย่างไรก็หาบริสุทธิ์ได้ไม่ ถ้าแม้สัตว์กระทำบาปไว้มหันต์ทำบุญไว้มากมาย ก็ไม่ล่วง ๘๔  กัป  ไปได้ เหมือนคลื่นล่วงฝั่งไปไม่ได้

คุณาชีวกได้กราบทูลให้เป็นที่น่าเชื่อถือตามกำลังความคิดของตน    โดยหาหลักฐานมิได้

ขณะนั้น อลาตะเสนาบดี  ได้ฟังคำของคุณาชีวกกัสสปโคตรแล้ว  ได้กล่าวขึ้นท่ามกลางประชาชนว่า  ข้าพเจ้าชอบใจที่ท่านพูด  แม้ข้าพเจ้าก็ระลึกชาติหนหลังของตนได้ชาติหนึ่ง คือ ในชาติก่อนข้าพเจ้าเกิดในเมืองพาราณสีอันเป็นเมืองแน่นมั่งคั่ง เป็นนายพรานฆ่าโค ชื่อว่า "ปิงคล์"  ข้าพเจ้าได้ทำบาปกรรมไว้มากมาย ได้ฆ่าทั้งโค กระบือ  หมู แพะ เป็นอันมาก ข้าพเจ้าตายจากชาตินั้นแล้ว มาเกิดในตระกูลเสนาบดีอันบริสุทธิ์นี้   บาปไม่มีผลแน่  ก็ถ้าบาปมีผลทำไมข้าพเจ้าจึงไม่ตก

ในอดีตชาติ  ในกาลแห่งพระพุทธเจ้าพระนามกัสสปะ อลาตเสนาบดีนั้น เคยทำบุญด้วยการสักการะบูชาพระเจดีย์ด้วยพวงดอกอังกาบ ด้วยจิตที่มีศรัทธาตั้งมั่น หลังจากตายถูกกรรมอย่างอื่นซัดให้เป็นไปตามอำนาจ ท่องเที่ยวไปในสงสาร ด้วยผลแห่งบาปกรรมอย่างหนึ่ง  ในชาติถัดจากนี้ไป เขาได้มาเกิดในตระกูลคนฆ่าโค ได้ทำกรรมด้วยการฆ่าสัตว์ไว้มากตามอาชีพของตระกูล

ครั้นเวลาที่จะตาย บุญที่เขาเคยสักการะบูชาพระเจดีย์ ซึ่งยังไม่ให้ผลได้มาให้ผลขั้นในระหว่างกรรมนั้น เหมือนไฟที่ถูกขี้เถ้ากลบไว้ เขาจึงบังเกิดในตระกูลอำมาตย์ทำให้ได้รับสมบัติเช่นนั้น   และระลึกชาติได้เฉพาะชาติที่ทำกรรมฆ่าโค ไม่อาจระลึกถึงบุญกรรมอื่นในอดีตที่ห่างออกไป    อลาตะเสนาบดี  จึงสนับสนุนคำพูดคุณาชีวกนั้น เพราะเข้าใจว่าตนได้ทำกรรมคือการฆ่าโคไว้มากก็ยังได้มาเกิดเป็นเสนาบดี มีอำนาจสูงสุดเหนืออำมาตย์คนอื่นในมิถิลานคร

ในมิถิลานคร มีคนเข็ญใจคนหนึ่งชื่อว่า "วีชกะ" เป็นทาสเขา  รักษาอุโบสถศีล ได้ไปสำนักคุณาชีวก  ได้ฟังคำของกัสสปคุณาชีวกและอลาตะเสนาบดี จึงถอนหายใจฮึดฮัด  แล้วร้องไห้น้ำตาไหล

พระราชาตรัสถามว่า  เจ้าร้องไห้ทำไม  ไม่สบายหรือเปล่า  เจ้าได้ฟังหรือประสบสิ่งใดมาจึงร้องไห้ 

นายวีชกะกราบทูลว่า   ข้าพระองค์ มิได้มีทุกขเวทนาอันใดเลย พระเจ้าข้า ขอได้ทรงพระกรุณาฟังข้าพระพุทธเจ้าบ้าง แม้ข้าพระพุทธเจ้าก็ระลึกถึงความสุขสบายของตนในอดีตชาติได้ คือ ในชาติก่อนข้าพระพุทธเจ้าเกิดเป็นภาวเศรษฐี ยินดีในคุณธรรม อยู่ในเมืองสาเกต   ข้าพระพุทธเจ้าได้รับการอบรมสั่งสอนมาดี ยินดีในการทำบุญให้ทาน แก่พราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย มีอาชีพบริสุทธิ์ ข้าพระพุทธเจ้าพยายามนึกถึงบาปกรรมที่ตนกระทำไว้ไม่มีเลย แต่ข้าพระพุทธเจ้าตายจากชาตินั้นแล้ว  ได้มาเกิดในครรภ์ของนางกุมภทาสี  หญิงขัดสนในมหานครแห่งนี้

ตั้งแต่เวลาที่เกิดแล้ว  ข้าพระพุทธเจ้าก็ยากจนเรื่อยมา ไม่มีเวลาไหนเลยที่จะพบความสุข  แม้จะยากจนเช่นนี้ ก็ตั้งมั่นอยู่ในความประพฤติชอบ   ได้แบ่งอาหารกึ่งหนึ่งทำบุญ ได้รักษาอุโบสถศีลในวัน  ๑๔  ค่ำ  ๑๕  ค่ำตลอดมา ไม่ได้เบียดเบียนสัตว์และไม่ได้ลักทรัพย์เลย  บุญทั้งหมดที่ข้าพระพุทธเจ้าทำ  ศีลที่ข้าพระพุทธเจ้ารักษา เห็นจะไร้ผล  ตามที่อลาตะเสนาบดีกล่าวเป็นแน่  

ชีวิตของข้าพระพุทธเจ้าประสบแต่ความล้มเหลว พบแต่ความปราชัยเหมือนนักเลงพนันอ่อนหัด ส่วนอลาตเสนาบดีประสบแต่ความเจริญรุ่งเรืองในหน้าที่การงาน มีแต่ชัยชนะเหมือนนักเลงผู้ชำนาญการพนัน    ข้าพระพุทธเจ้า    ไม่เคยพบความสุขสบายบ้างเลย เมื่อมาได้ฟังคุณาชีวกแล้วจึงร้องไห้ เสียใจ

ในอดีตชาติ ในกาลพระพุทธเจ้าพระนามว่า  กัสสปะ  นายวีชกะนั้นเกิดเป็นคนเลี้ยงโค   เที่ยวตามหาโคพลิพัทธที่หายออกฝูง เขาออกเที่ยวตามหาโคไปในป่า ถูกพระธุดงค์รูปหนึ่งผู้หลงทางถามทางออกจากป่า รู้สึกหงุดหงิดจึงนิ่งเสีย  เมื่อถูกท่านเอ่ยปากถามซ้ำอีก ก็โกรธแล้วกล่าวว่า  พระขี้ข้านี้พูดมากจัง   เห็นทีจะเป็นขี้ข้าเขาจึงพูดมาก  กรรมหาได้ให้ผลในชาตินั้นไม่ แต่ตั้งสงบนิ่งอยู่เหมือนไฟที่มีเถ้ากลบปิดไว้   ครั้นถึงเวลาตาย กรรมอื่นให้ผลก่อน เขาจึงท่องเที่ยวอยู่ในวัฎสงสารตามลำดับของกรรม  เพราะผลแห่งกุศลอย่างหนึ่ง  ทำให้เขาได้มาเกิดเป็นเศรษฐี ในเมืองสาเกต  ได้กระทำบุญมีทานเป็นต้นไว้มากมาย หลังตายจากชาติเศรษฐี กรรมที่เขาด่าภิกษุผู้หลงทาง ได้โอกาส จึงมาให้ผล ทำให้มาเกิดเป็นทาสคนอื่นในชาตินี้ 

เมื่อนายวีชกะระลึกได้เฉพาะชาติที่เกิดเป็นเศรษฐีทำบุญไว้มาก แต่ไม่รู้ถึงชาติที่ทำกรรมไว้ จึงกล่าวอย่างนั้นด้วยเข้าใจว่า   แม้ทำบุญไว้มากมาย  ยังต้องมาเกิดเป็นทาส

พระเจ้าอังคติราชตรัสกับเขาว่า  วีชกะ ทางไปสุคติไม่มี  เธอยังสงสัยอยู่อีกหรือ สุขหรือทุกข์สัตว์ย่อมได้เองแน่นอน สัตว์ทั้งปวงหมดจดได้ด้วยการเวียนเกิดเวียนตาย  เมื่อยังไม่ถึงเวลาก็บริสุทธิ์เองเธออย่ารีบด่วนไปเลย เมื่อก่อนเราเองก็ทำกุศลมากมาย  เอาใจใสในพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย อนุศาสน์ราชกิจอยู่เนืองๆ เพื่อให้ประชาชนงดเว้นจากความยินดีในกามคุณ  

ครั้นแล้วพระราชาได้ตรัสบอกลาคุณาชีวกว่า   ท่านกัสสปโคตร  พวกข้าพเจ้าหลงเข้าใจผิดมานาน  แต่บัดนี้พวกข้าพเจ้าได้อาจารย์แล้ว   ตั้งแต่นี้ไปพวกข้าพเจ้าจะเพลิดเพลินยินดีแต่ในกามคุณแม้การฟังธรรมในสำนักขอท่านนานไปกว่านี้  ก็ทำให้พวกข้าพเจ้าเสียเวลาเปล่า  ท่านจงหยุดเถิด

ครั้นพระเจ้าวิเทหราช ก็เสด็จกลับไปยังพระราชนิเวศน์ของพระองค์ โดยที่ไม่ได้พระราชทานเครื่องสักการะสิ่งใด 

ตอนแรกพระราชาเสด็จไปพบคุณาชีวก  ทรงนมัสการแล้วจึงตรัสถามปัญหา  เมื่อเสด็จกลับหาได้ทรงนมัสการไม่  เพียงแต่การทรงนมัสการคุณาชีวกพระองค์ยังไม่ทรงทำ ไฉนพระองค์จะพระราชทานสักการะ  เพราะเข้าพระทัยว่า คุณาชีวกเป็นผู้ไม่มีคุณ

ครั้นวันรุ่งขึ้นพระองค์จึงให้ประชุมเหล่าอำมาตย์ให้บำเรอกามคุณกัน  รับสั่งว่า นับแต่วันนี้ไป เราจะเสวยความสุขในกามคุณเท่านั้น  อย่าพึงรายงานราชกิจอื่นให้เราทราบ 

ทรงมอบให้วิชยอำมาตย์   สุนามอำมาตย์  และอลาตเสนาบดี  เป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน โดยไม่ใส่พระทัยราชกิจอะไรอีกเลย 

เจ้าหญิงของอดีต
ตามปกติ เจ้าหญิงรุจาราชกุมารีจะเข้าเฝ้าพระบิดาทุก ๑๔ วัน นับแต่วันที่พระบิดาไปพบคุณาชีวกมาจนถึงวันนี้เป็นวันที่ ๑๔ เจ้าหญิงรุจารับสั่งให้พี่เลี้ยงช่วยประดับพระองค์เตรียมเข้าเฝ้าพระบิดา  ทรงมีหญิงบริวารเป็นอันมากห้อมล้อม พระฉวีวรรณผุดผ่องพระสิริโฉมงดงามราวกับนางเทพกัญญา พาหมู่พี่เลี้ยงนางนม  ลงจากปราสาทด้วยสิริวิลาสอันใหญ่ยิ่ง  เสด็จไปยังจันทกปราสาท   เพื่อเฝ้าพระชนกนาถ

พระเจ้าวิเทหราช ทอดพระเนตรเห็นพระธิดามา  ทรงดีพระทัย ชื่นบาน ให้จัดสิ่งของต้อนรับ เมื่อจะส่งกลับ จึงได้พระราชทานเงิน ๑,๐๐๐   กหาปณะสำหรับให้ทาน    เจ้าหญิงรุจาเสด็จกลับไปยังพระตำหนักของพระองค์แล้ว วันรุ่งขึ้นเป็นวัน ๑๕ ค่ำจึงทรงรักษาอุโบสถศีล ทรงให้ทานคนกำพร้า คนเดินทางไกล  ยาจกและวนิพกเป็นอันมาก

ทราบมาว่า พระเจ้าวิเทหราช  ได้พระราชทานชนบทแห่งหนึ่งแก่พระธิดา เจ้าหญิงรุจานำรายได้จากชนบทนั้นมาเป็นค่าใช่จ่ายกิจทุกอย่าง   

ในกาลนั้นเกิดลือกันขึ้นทั่วพระนครว่า พระราชาทรงอาศัยคุณาชีวก   กลายเป็นมิจฉาทิฏฐิ  พวกพี่เลี้ยงนางนม   ได้ยินข่าวลือกัน  จึงได้นำความกราบทูลเจ้าหญิงว่า  พระชนกของพระองค์   ทรงสดับถ้อยคำของอาชีวกแล้วทรงถือมิจฉาทิฏฐิ ทรงรับสั่งให้รื้อโรงทานที่ประตูเมืองทั้ง  ๔  ด้าน ทรงข่มขืนหญิงสาว และสตรีที่เป็นภรรยาผู้อื่น ทรงมัวเมาอยู่แต่ในกามคุณมิได้ทรงพระราชกรณียกิจเลย

เจ้าหญิงรุจาทรงสลดพระทัย ทรงดำริว่า เพราะเหตุไร พระชนกจึงเสด็จไปถามปัญหาคุณาชีวก ผู้ไม่มีคุณธรรม  เปลือยกายไร้ยางอายเช่นนั้น  ควรที่จะเข้าไปถามสมณพราหมณ์ผู้มีธรรม  เว้นเราแล้ว คงไม่มีใครปลดเปลื้องมิจฉาทิฏฐิพระชนกให้กลับมาเป็นสัมมาทิฏฐิเช่นเดิมได้   เราระลึกชาติได้ถึง  ๑๔  ชาติ  ที่เป็นอดีตชาติ  ๗  ชาติ    ที่เป็นอนาคต   ๗  ชาติ  เราจะทูลให้พระองค์ทราบถึงกรรมชั่วและผลแห่งกรรมที่เราทำไว้ในอดีตชาติ ทำให้พระชนกได้สติ   แต่ถ้าจะเฝ้าในวันนี้ พระชนกคงจะห้ามว่าเมื่อก่อนเคยมาทุกกึ่งเดือน    เพราะเหตุไรวันนี้จึงรีบมาก่อนกำหนด    ครั้นจะทูลว่า กระหม่อมมาในวันนี้เพราะได้ทราบข่าวที่ลือกันว่า  พระองค์ทรงถือมิจฉาทิฏฐิ คำพูดของเราจะไม่น่าเชื่อถือ  วันนี้เราอย่าเพิ่งไปเฝ้า   ทำเป็นไม่รู้ไปก่อน    ถึงวัน  ๑๔   ค่ำ  จึงค่อยเข้าไปเฝ้าตามที่เคย  ครั้นเวลากลับ  เราจะทูลขอพระราชทานเงินเพิ่มขึ้นจากเดิม ๑๐๐๐ กหาปณะ พระชนกจะแสดงการถือมิจฉาทิฏฐิแก่เรา    เราจะมีโอกาสให้พระองค์ทรงละทิ้งมิจฉาทิฏฐินั้นเสีย    

ครั้นถึงวัน  ๑๔  ค่ำ เจ้าหญิงรุจาราชกุมารี ทรงประดับด้วยเครื่องอาภรณ์ทุกอย่าง เสด็จเข้าไปเฝ้าพระเจ้าวิเทหราช ที่จันทกปราสาทตามปกติ เหมือนไม่ทรงทราบอะไร 

พระเจ้าวิเทหราช   ทอดพระเนตรเห็นพระธิดา  ประทับอยู่ท่ามกลางหญิงบริวาร  ซึ่งเป็นดังสมาคมแห่งนางเทพลอัปสร  จึงตรัสถามด้วยความการุญว่า  ลูกหญิงยังรื่นรมย์อยู่ในปราสาท  และยังประพาสอุทยานเล่นน้ำในสระโบกขรณีเพลิดเพลินอยู่หรือ เขายังส่งของเสวยไปให้ลูกหญิงอยู่หรือ ลูกหญิงและเพื่อนๆ ยังเก็บดอกไม้ต่างๆ ร้อยพวงมาลัย  และยังช่วยกันทำเรือนหลังเล็กๆ เล่นเพลิดเพลินอยู่หรือ    ลูกหญิงขาดแคลนอะไรบ้าง ก็ให้บอก   ลูกชอบใจของที่จะทำให้หน้าผ่องใส่สิ่งใดไหม ถ้าชอบใจก็ให้บอกพ่อ แม้สิ่งนั้นจะเสมอดวงจันทร์   พ่อก็จะหามาให้ลูก

เจ้าหญิงรุจากราบทูลว่า  ลูกได้ทุกย่างหมดแล้ว  แต่พรุ่งนี้เป็นวัน  ๑๕  ค่ำ  ขอให้ทหารนำพระราชทรัพย์หนึ่งพันมาให้  ลูกจะให้ทานแก่วนิพกตามที่เคยทำมา

พระเจ้าอังคติราชตรัสว่า ลูกหญิง บุญไม่มีหรอก ลูกทำให้ทรัพย์พินาศเสียหายมากแล้ว โดยไม่มีประโยชน์  การที่ลูกหญิงรักษาอุโบสถศีล  ไม่บริโภคข้าวน้ำแล้วจะได้บุญอย่างไร   

อาจารย์คุณาชีวกกล่าวอย่างนี้ว่า  โลกนี้ไม่มี  โลกอื่นไม่มี  มารดาไม่มี   บิดาไม่มี   สัตว์ทั้งหลาย  ผู้ผุดเกิดไม่มี  สมณพราหมณ์ผู้ยินดีในความพร้อมเพรียงกัน  ผู้ปฏิบัติชอบก็ไม่มี   แม้ผู้ชายแท้ๆ ได้ฟังคำของคุณาชีวกแล้ว ยังถึงกลับถอนหายใจฮึดฮัดร้องไห้น้ำตาไหล  ลูกหญิงจะให้ทานไปทำไม จะรักษาศีลไปทำไม ทำให้ตนเองเดือดร้อนไปทำไม ขณะที่ลูกหญิงยังมีชีวิตอยู่  ลูกอย่าอดอาหารเลย   ปรโลกไม่มี  ลูกหญิงจะลำบากไปทำไม   ไร้ประโยชน์

เจ้าหญิงรุจาสดับพระดำรัสพระชนกนาถ ทรงประสงค์จะปลดเปลื้องพระชนกนาถจากมิจฉาทิฏฐิ  จึงกราบทูลว่า

ลูกเคยได้ยินมาก่อนว่าผู้ใดคบคนพาล  ผู้นั้นก็จะเป็นคนพาลไปด้วย  วันนี้ลูกได้เห็นประจักษ์ด้วยตนเองแล้ว    คนหลงอาศัยคนหลง   ย่อมถึงความหลงหนักยิ่งขึ้น เหมือนคนหลงทางถามคนหลงทาง   การที่พระองค์อาศัยคุณาชีวกผู้เป็นพาลไร้ยางอาย แล้วยังมาหลงกับอลาตเสนาบดี และวีชกทาสอีก  

เจ้าหญิงรุจาราชธิดาทรงติเตียนชนทั้ง ๒ นั้นอย่างนี้แล้ว   ทรงสรรเสริญพระชนกนารถ ด้วยประสงค์จะปลดเปลื้องจากมิจฉาทิฏฐิ  กราบทูลว่า

พระองค์ทรงมีพระปรีชา ทรงเป็นนักปราชญ์  ทรงฉลาดในประโยชน์และมิใช่ประโยชน์  จะทรงเป็นเช่นกับพวกคนพาล  เข้าถึงซึ่งทิฏฐิอันเลวได้อย่างไร ก็ถ้าสัตว์จะบริสุทธิ์ได้ด้วยการท่องเที่ยวไปในสังสารวัฏ การบวชของคุณาชีวกก็ไร้ประโยชน์ แล้วเขายังจะบวชอยู่ทำไม  คุณาชีวกเป็นคนหลงงมงาย   จึงเป็นคนเปลือย    เหมือนแมงเม่าหลงบินเข้ากองไฟจึงเผาตาย คนเป็นอันมากล้วนโง่เขลา ได้ฟังคุณาชีวกก็หลงเชื่อ    จึงพากันปฏิเสธกรรมและผลของกรรม

เปรียบเหมือนเรือที่พ่อค้าบรรทุกสินค้าหนักเกินประมาณ     ย่อมจมลงในมหาสมุทร  ผู้ชนสั่งสมบาปกรรมทีละน้อยๆ   ก็ย่อมพาเอาบาปอันหนักยิ่งไปจมลงในนรกเช่นกัน ทูลกระหม่อมเพคะ  บาปกรรมของอลาตเสนาบดียังไม่เต็ม เขายังสั่งสมบาปกรรมที่จะทำให้เกิดในนรกอยู่ การที่อลาตเสนาบดีได้รับความสุขอยู่ในชาตินี้   เป็นเพราะบุญที่เขาทำไว้ในชาติก่อน   หากวันใดที่หมดบุญ เขาจะได้รับผลของกรรมอย่างแน่นอน ผู้คนสั่งสมบุญไว้แม้ทีละน้อย ย่อมไปสู่เทวโลก    เหมือนวีชกบุรุษเป็นทาสยินดีในบุญกุศล  ย่อมมุ่งไปสู่สวรรค์ เหมือนตาชั่งที่เขาชั่งสิ่งของ   ย่อมต่ำลงข้างหนึ่ง แต่เมื่อเอาของหนักออกเสีย  ข้างที่ต่ำก็จะสูงขึ้น

นายวีชกะเกิดเป็นทาสประสบทุกข์ในวันนี้  เพราะผลกรรมที่เขาทำไว้ในอดีตชาติ    กรรมของเขากำลังจะหมด ทูลกระหม่อมอย่าคบหากัสสปคุณาชีวก   ดำเนินทางผิดเลยเพคะ

เจ้าหญิงรุจาได้แสดงโทษในการคบหาคนชั่วเป็นมิตรและคุณในการคบหากัลยาณมิตรแก่พระราชบิดาว่า

บุคคลคบสัตบุรุษก็ตาม อสัตบุรุษก็ตาม  ผู้มีศีลก็ตาม  ผู้ไม่มีศีลก็ตาม   เขาย่อมตกไปสู่อำนาจของผู้นั้น บุคคลคบคนเช่นใดย่อมเป็นคนเช่นนั้น เพราะการอยู่ร่วมกันจึงทำให้เป็นเช่นนั้น เราคบใครย่อมติดนิสัยคนที่เราคบ เราติดต่อใครย่อมติดนิสัยคนที่เราติดต่อ  เหมือนลูกศรอาบยาพิษย่อมเปื้อนแล่ง คนที่เป็นปราชญ์ไม่ควรคบคนลามก  เป็นสหาย   เพราะกลัวจะแปดเปื้อน   การเสพคนพาลย่อมเป็นเหมือนบุคคลเอาใบไม้ห่อปลาเน่า   แม้ใบไม้ก็มีกลิ่นเหม็นฟุ้งไปด้วย ส่วนการคบค้าสมาคมกับนักปราชญ์   ย่อมเป็นเหมือนบุคคลเอาใบไม้ห่อของหอม แม้ใบไม้ก็มีกลิ่นหอมฟุ้งไปด้วย คนดีคบค้าสมาคมกับคนดีย่อมประสบแต่สิ่งที่ดี  คนชั่วคบค้าสมาคมกับคนชั่วย่อมประสบแต่สิ่งที่เลวร้าย

เจ้าหญิงรุจาราชกุมาริกาตรัสเล่าถึงทุกข์ที่ตนเคยได้รับมาในอดีตให้พระบิดาฟังว่า

แม้ลูกเองก็ระลึกชาติที่ตนเกิดและตายมาแล้วได้  ๗ ชาติ   และระลึกชาติที่ตนจุติจากชาตินี้แล้วจะไปเกิดในอนาคตได้อีก  ๗  ชาติ  ในชาติที่  ๗   ในอดีต  ลูกเคยเกิดเป็นบุตรนายช่างทองในแคว้นมคธ มหานครราชคฤห์ ลูกได้คบหาสหายชั่ว  ทำบาปกรรมไว้มาก   เที่ยวคบชู้ภรรยาของชายอื่น หลังจากตายไป กรรมนั้นยังไม่ให้ผล    เหมือนไฟที่มีเถ้ากลบปิดไว้   แต่บุญอย่างอื่นให้ผลก่อน ลูกได้มาเกิดในวังสรัฐ เมืองโกสัมพี   เป็นบุตรคนเดียวในสกุลเศรษฐี ผู้สมบูรณ์มั่งคั่ง  มีทรัพย์มากมาย  คนทั้งหลายยหย่องสรรเสริญบูชาอยู่เป็นนิตย์   ในชาตินั้น  ลูกได้คบค้าสมาคมกับเพื่อนที่ดี ผู้เป็นบัณฑิต  เป็นพหูสูต  เขาได้แนะนำให้ลูกรักษาอุโบสถศีลในวัน  ๑๔  ค่ำ  ๑๕   ค่ำ  ตลอดราตรี เป็นอันมาก   กรรมนั้นยังไม่ได้ให้ผล  ดังขุมทรัพย์ที่ฝังไว้ใต้น้ำ 

ครั้นในชาติต่อมา ผลกรรมที่ลูกได้กระทำไว้ในมคธรัฐ ให้ผล ลูกเหมือนคนดื่มยาพิษร้ายแรง ลูกตายจากตระกูลเศรษฐีนั้น  ต้องหมกไหม้อยู่ในโรรุวนรกนานเพราะกรรมของตน ลูกระลึกถึงทุกข์ที่ประสบมาในนรกนั้น  ไม่ได้ความสุขเลย ต้องทนทุกข์ในนรกนานแสนนาน  ชาติต่อมาได้มาเกิดเป็นลา ลูกพาผู้คนทั้งหลายไปด้วยหลังบ้าง ลากรถไปบ้าง เป็นเพราะผลกรรมที่ลูกคบชู้กับภรรยาของคนอื่น

ครั้นลูกตายจากชาติลานั้นแล้ว  ได้ไปเกิดเป็นลิงในป่า  เพราะความลูกเกิดเป็นลูกตัวผู้  พวกลิงจึงนำลูกไปให้ลิงจ่าฝูง    ลิงจ่าฝูงจับลูกลิงไว้มั่น แล้วกัดลูกอัณฑะของลิงนั้น ถึงจะร้องเท่าไรก็ไม่ปล่อย ลูกถูกลิงจ่าฝูงคะนองกัดลูกอัณฑะเพราะผลกรรมที่เป็นชู้กับภรรยาผู้อื่น

ครั้นลูกตายจากชาติลิงนั้นแล้ว   ได้มาเกิดเป็นโคในทสันนรัฐ ถูกเขาตอนให้มีพละกำลังแข็งแรง    ลูกต้องทนทุกข์ทรมานเทียมแอกไถเป็นเพราะผลกรรมที่ลูกคบชู้ภรรยาผู้อื่น   ครั้นลูกตายจากชาติโคนั้นแล้ว  ได้มาเกิดเป็นกระเทยในตระกูลที่มีโภคสมบัติมากในแคว้นวัชชี   กว่าจะได้เกิดเป็นมนุษย์แสนยาก  ครั้นมาเกิดเป็นมนุษย์ก็เป็นมนุษยที่ไม่สมบูรณ์ ลูกต้องกลายเป็นกระเทย ทนทุกข์ถูกเขาดูหมิ่นดูแคลน ให้เจ็บปวดใจไม่รู้จักจบสิ้น เป็นเพราะผลแห่งกรรมที่ลูกคบชู้ภรรยาผู้อื่น  ลูกตายจากชาติกระเทยนั้นแล้ว     ผลบุญจึงเริ่มกลับมาให้ผลได้ไปเกิดเป็นนางอัปสรในนันทนวัน  บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์  มีผิวพรรณน่าใคร่  มีผ้าและอาภรณ์อันวิจิตร  สวมต่างหูแก้วมณี  ฉลาดในการฟ้อนรำขับร้อง เป็นบาทบริจาริกาของท้าวสักกะ เมื่อลูกอยู่ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ระลึกชาติในอนาคตได้อีก  ๗  ชาติที่ลูกจะไปเกิด

บุญกุศลที่ลูกทำไว้เมื่อครั้งเกิดในเมืองโกสัมพีตามมาให้ผล      ลูกจุติจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์นั้นแล้ว ได้เกิดเป็นเทวดาและมนุษย์อีกหลายชาติ    ลูกจะเป็นผู้ที่ชนทั้งหลายสักการะตลอด  ๗  ชาติ  จะเกิดเป็นหญิงอีก ๖  ชาติ  ในชาติที่  ๗ ลูกถึงจะได้เกิดเป็นเทวดาผู้ชาย  เป็นเทพบุตรผู้มีฤทธิ์มาก   เป็นผู้สูงสุดในหมู่เทวดา  

แม้วันนี้นางอัปสรทั้งหลายก็ยังร้อยดอกไม้เป็นพวงมาลัย     อยู่ในนันทนวัน เทพบุตรนามว่าชวะสามีลูก ยังรับพวงมาลัยอยู่  ๑๖  ปีในโลกมนุษย์นี้รวดเร็วเหลือเกินสำหรับเทวดา ๑๐๐  ปีในมนุษย์เป็นคืนหนึ่งและวันหนึ่งของเทวดา

ตามที่ลูกได้กราบทูลให้ทรงทราบมานี้   กรรมทั้งหลายย่อมติดตามไปทุกๆ ชาติ  ไม่ว่าจะเป็นบุญหรือกรรมหากยังไม่ให้ผลแล้ว  ย่อมไม่รามือ

เจ้าหญิงนั้นไปเกิดในเทวโลก ตรวจดูว่าตนมาจากไหนจึงมาเกิดในเทวโลก จึงเห็นว่าเคยเกิดเป็นกระเทยในตระกูลที่มีโภคะมาก  ในแคว้นวัชชี   จากนั้นจึงตรวจดูว่าเพราะบุญอะไรจึงได้มาเกิดในที่อันน่ารื่นรมย์เช่นนี้  ได้เห็นบุญที่ตนทำไว้เมื่อครั้งเกิดในตระกูลเศรษฐีในกรุงโกสัมพี  จึงตรวจดูต่อไปว่าทำกรรมอะไรไว้จึงมาเกิดเป็นกระเทย  จึงได้รู้ว่าตนเคยเกิดเป็นโคประสบทุกข์ใหญ่ ในทสันนรัฐ   เมื่อหวลระลึกถึงชาติต่อจากนั้น  ก็ได้เห็นตนถูกตอนในชาติลิง  เมื่อหวลระลึกชาติถัดจากนั้นไปอีก ก็เห็นตนถูกตอนในชาติแพะ ในภินนาคตะรัฐ   เมื่อหวลระลึกถัดจากชาตินั้นไปอีก ก็เห็นตนเกิดในโรรุวนรก เมื่อพระนางรุจาราชธิดาเห็นตนหมกไหม้ในนรก  และประสบทุกข์ในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน  ก็บังเกิดความกลัวอย่างมาก  

พระนางรุจาราชธิดา หวลระลึกถึงชาติต่อไปว่า  เราประสบทุกข์เช่นนี้เพราะกรรมอะไร   จึงเห็นกรรมที่ตนคบชู้กับภรรยาคนอื่นเพราะคบเพื่อนชั่วในมคธรัฐ  จึงได้รู้ว่าคนประสบทุกข์ใหญ่ เพราะผลแห่งกรรมนั้น 

พระนางจึงตรวจดูต่อไปว่า หลักจากตายจากชาตินี้แล้วจะไปเกิดที่ไหน ก็รู้ว่าในชาติที่ ๒ ที่ ๓ ที่ ๔ จะเกิดเป็นบาทบริจาริกาของท้าวสักกเทวราชอีกครั้ง    ดำรงอยู่ตลอดชีวิต  ในชาติที่  ๕ จะไปเกิดเป็นอัครมเหสีของชวนะเทพบุตรในเทวโลก    ชาติที่ ๖ ถัดจากนั้นจะจุติจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ไปเกิดในพระครรภ์ของพระอัครมเหสีของพระเจ้าอังคติราช   มีพระนามว่า  "รุจาราชกุมารี"  ในชาติที่ ๗ ถัดจากชาตินั้น จึงจะพ้นจากความเป็นหญิงไปเกิดเป็นเทพบุตร ผู้มีฤทธิ์มากในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์

เมื่อพระนางรุจาราชธิดา   จะทรงแสดงธรรมแก่พระราชบิดาให้ยิ่งขึ้นไปจึงตรัสว่า   

ชายใดปรารถนาเป็นบุรุษทุกๆ  ชาติไป    ก็พึงเว้นภรรยาผู้อื่น เหมือนคนล้างเท้าสะอาดแล้วไม่เหยียบโคลนอีก  หญิงใดปรารถนาเป็นบุรุษทุกๆ ชาติไป  ก็พึงยำเกรงสามี   เหมือนนางเทพอัปสรผู้เป็นบาทบริจาริกายำเกรงพระอินทร์ ผู้ใดปรารถนาโภคทรัพย์  อายุ   ยศและสุขอันเป็นทิพย์  ก็พึงเว้นบาปกรรมทั้งหลาย ประพฤติแต่สุจริตธรรม  สตรีก็ตามบุรุษก็ตาม  ควรเป็นผู้ไม่ประมาทด้วยกาย   วาจา  ใจมีปัญญาพิจารณาให้เห็นประโยชน์ของตน  

นรชนเหล่าใดเหล่าหนึ่งในโลกนี้ ที่เป็นคนมียศ   มีโภคทรัพย์บริบูรณ์ทุกอย่าง เขาเหล่านั้นต้องได้สั่งสมกรรมดีไว้ในชาติก่อนอย่างไม่ต้องสงสัย สัตว์ทั้งปวงล้วนมีกรรมเป็นของตัว ขอพระองค์ทรงตริตรองด้วยพระองค์เองเถิด 

พระนางรุจาราชธิดา ได้ทูลเล่าถึงชาติที่ตนเกิดมาแล้วในอดีต   และแสดงธรรมถวายพระชนกนาถ ตั้งแต่เช้าตลอดคืนยังรุ่งแล้วกราบทูลว่า  ขอพระองค์อย่าทรงเชื่อคำของคนเปลือย ผู้เป็น  มิจฉาทิฏฐิเลย โลกนี้มีโลกหน้ามีสมณพราหมณ์มีผลของความดีความชั่วก็มี 

แม้เมื่อพระนางรุจาราชธิดา กราบทูลถึงอย่างนี้    ก็ไม่อาจปลดเปลื้องพระชนกจากมิจฉาทิฏฐิได้ ส่วนพระเจ้าอังคติราชทรงสดับวาจาอันไพเราะ ของพระราชธิดานั้นแล้ว ทรงปลื้มพระราชหฤทัยอย่างยิ่งว่าพระธิดาฉลาดหลักแหลม 

ธรรมดามารดาบิดา ย่อมรักเอ็นดูบุตรที่ฉลาดเจรจา  แต่คำพูดนั้นหาทำให้บิดาละมิจฉาทิฏฐิได้ไม่  

แม้ชาวพระนครก็ลือกระฉ่อนกันว่า พระนางรุจาราชธิดาทรงแสดงธรรมหวังจะให้พระชนกละมิจฉาทิฏฐิ ต่างพากันดีใจว่า  พระราชธิดาเป็นบัณฑิต ถ้าปลดเปลื้องมิจฉาทิฏฐิพระชนกได้แล้ว ชาวพระนครทั้งหลาย ก็จะปลอดภัย

เมื่อเจ้าหญิงรุจาราชธิดา ไม่สามารถทำให้พระชนกได้สติก็ไม่ทรงละความพยายาม  ทรงดำริหาช่องทางต่อไป จึงประคองอัญชลีขึ้นเหนือพระเศียร นมัสการทิศทั้ง  ๑๐  ทรงตั้งอธิษฐานว่า ในโลกนี้  ย่อมมีสมณพราหมณ์ผู้ทรงธรรม  มีท้าวโลกบาล  และท้าวมหาพรหมเป็นผู้ดูแลโลก ข้าพเจ้าขอเชิญท่านมาปลดเปลื้องมิจฉาทิฏฐิพระชนกนาถข้าพเจ้า เมื่อพระชนกนาถไม่มีพระคุณ ข้าพเจ้าก็ขอเชิญคุณและด้วยสัจะของข้าพเจ้า จงช่วยปลดเปลื้องจากความเห็นผิด ทำความสวัสดีแก่ชาวโลกทั้งมวล

อุเบกขามหาพรหม
ในกาลนั้น  พระโพธิสัตว์ได้เป็นมหาพรหมนามว่า  "นารทะ"  ก็ธรรมดาพระโพธิสัตว์  มีอัธยาศัยใหญ่ด้วยเมตตาภาวนา    เที่ยวตรวจดูโลกตามกาลอันสมควร  เพื่อดูเหล่าสัตว์ผู้ทำดีและทำชั่ว ในวันนั้น ท่านตรวจดูโลกเห็นพระนางรุจาราชธิดากำลังนมัสการเหล่าเทวดาผู้ดูแลโลก  เพื่อจะปลดเปลื้องพระชนกนาถจากมิจฉาทิฏฐิ   จึงดำริว่า   เว้นเราแล้วไม่มีใครสามารถปลดเปลื้องพระเจ้าอังคติราชจากมิจฉาทิฏฐิได้    วันนี้เราควรจะไปสงเคราะห์พระราชธิดา และทำให้พระราชาพร้อมทั้งบริวารชน เกิดความสวัสดี แต่จะไปอย่างไรดี  เห็นว่าบรรพชิตเป็นที่รัก เป็นที่เคารพ   และมีคำพูดน่าถือสำหรับพวกมนุษย์   ควรแปลงเป็นบรรชิตไป 

ครั้นตกลงใจดังนี้แล้ว ก็แปลงเป็นมนุษย์ทรงเพศฤาษี มีวรรณะดังทองคำน่าเลื่อมใสผูกชฏามณฑลอันงามจับใจ ปักปิ่นทองที่ชฎา  นุ่งผ้าพื้นแดงไว้ภายใน  ทรงผ้าเปลือกไม้  ย้อมฝาดไว้ภายนอก  กระทำเฉวียงบ่าผ้าหนังเสือปักด้วยด้ายเงิน  ขลิบด้วยดาวทอง   แล้วเอาภาชนะทองบรรจุอาหารใส่ตะกร้าประดับมุกดาช้าง  ข้างหนึ่ง  เอาคนโทน้ำแก้วประพาฬใส่ตะกร้าอีกอีกข้างหนึ่ง หาบด้วยคานทองงามงอน ไพโรจน์โชติช่วง  ประหนึ่งพระจันทร์วันเพ็ญลอยเด่นเหาะมาทางอากาศ  เข้าสู่จันทกปราสาท ยื่นอยู่เบื้องพระพักตร์พระเจ้าอังคติราช  พระนางรุจาราชธิดาเห็นนารทฤาษีนั้นมาถึง   จึงนมัสการ 

ฝ่ายพระราชา พอเห็นนารทมหาพรหม ถูกเดชแห่งพรหมคุกคามแล้วไม่สามารถจะทรงดำรงอยู่บนราชอาสน์ของพระองค์ได้   จึงเสด็จลงจากราชอาสน์ประทับยืนอยู่ที่พื้น  แล้วตรัสถามนามและโคตรพระนารทะและถึงเหตุที่เสด็จมา

นารรทะฤาษีคิดว่า   พระราชานี้เข้าใจว่า   ปรโลกไม่มี  เราจะถามเฉพาะปรโลกก่อน จึงกล่าวว่า ขอถวายพระพร อาตมาภาพมาจากเทวโลกเดี๋ยวนี้เอง คนทั้งหลายรู้จักอาตมาภาพ โดยนามว่า "นารทะ"  และโดยโคตรว่า  "กัสสปะ"

พระเจ้าอังคติราชทรงดำริว่า    เรื่องปรโลกเราจะเอาไว้ถามที่หลัง   แต่จะถามถึงเหตุที่เธอได้ฤทธิ์ก่อน  แล้วจึงตรัสว่า การที่ท่านเหาะไป และยืนอยู่บนอากาศได้เป็นเรื่องน่าอัศจรรย์ เพราะเหตุอะไร  ท่านจึงมีฤทธิ์เช่นนี้

นารทฤาษีทูลว่า คุณธรรม  ๔ ประการนี้ คือ   สัจจะ   ธรรมะ ทมะ  และจาคะ  อาตมาภาพได้ทำไว้ในชาติก่อน  เพราะคุณธรรมที่อาตมาภาพปฏิบัติมาดีแล้วนั้น    จึงทำให้อาตมาภาพไปไหนๆ  ได้รวดเร็วทันใจ 

แม้เมื่อพระโพธิสัตว์กราบทูลอย่างนี้  พระเจ้าอังคติราชก็ไม่ทรงเชื่อปรโลก   เพราะทรงถือเชื่อปรโลกไม่มีเสียแล้ว    จึงตรัสว่า   ผลบุญมีอยู่จริงแน่หรือ ถ้าเป็นจริงอย่างท่านว่า ข้าพเจ้าขอถามปัญหา ท่านจงตอบให้ดี                 

นารทฤาษีทูลว่า ขอถวายพระพร    มหาบพิตรทรงสงสัยสิ่งใดก็เชิญตรัสถามอาตมภาพเถิด

พะราชาตรัสถามว่า ท่านอย่าได้กล่าวมุสากับข้าพเจ้า  ที่คนพูดกันว่า    เทวดามี   มารดาบิดามี   ปรโลกมีนั้นเป็นจริงหรือ

พระนารทฤาษีกราบทูลว่า   ที่เขาพูดกันว่า   เทวดามี    มารดาบิดามี และปรโลกเป็นสิ่งที่มีอยู่จริง แต่ผู้หลงมัวเมาในกามทั้งหลาย   จึงไม่เชื่อปรโลก

พระเจ้าอังคติราชทรงสดับดังนั้น จึงทรงพระสรวลตรัสว่า  นารทะ  ถ้าท่านเชื่อว่าปรโลกมีจริง  สถานที่อยู่ในปรโลกของเหล่าสัตว์ผู้ตายไปแล้วก็ต้องมี  ถ้าเช่นนั้น ข้าพเจ้าขอยืมเงินท่านสัก  ๕๐๐ กหาปณะ แล้วจะไปใช้คืนให้เพิ่มขึ้นเป็น ๑๐๐๐ กหาปณะ ในปรโลก

พระโพธิสัตว์ติเตียนพระเจ้าอังคติราชท่ามกลางข้าราชบริพารว่า ถ้าอาตมาภาพรู้ว่า มหาบพิตรมีศีล ทรงรู้ความประสงค์สมณพราหมณ์ อาตมาภาพก็จะให้มหาบพิตรทรงยืมเงินสัก ๕๐๐ กหาปณะ แต่มหาบพิตรชั่วช้า   ตายไปแล้วต้องนรกหมกไหม้ ก็ใครจะไปทวงเงิน ๑๐๐๐ กหาปณะจากพระองค์ในรนกได้เล่า  

คนไม่มีศีลธรรม เกียจคร้าน ทำกรรมชั่วช้า บัณฑิต ไม่ยอมให้เขาผู้นั้นเป็นหนี้แน่ เพราะจะไม่ได้เงินจากคนเช่นนั้นคืน ส่วนบุคคลผู้ขยันหมั่นเพียร  มีศีล  รู้ความประสงค์สมณพราหมณ์   คนทั้งหลายรู้แล้ว    ย่อมเอาโภคทรัพย์มาเชื้อเชิญเอง   ด้วยคิดว่า   ผู้นี้ประกอบธุรกิจแล้ว   สามารถนำเงินมาใช้คืนได้

พระเจ้าอังคติราชถูกพระนารทฤาษีข่มขู่เช่นนี้    ก็หมดปฏิภาณที่จะตรัสโต้ตอบ  

มหาชนต่างพากันร่าเริงยินดี เล่าลือกันทั่วพระนครว่า   วันนี้ท่านนารทฤาษีผู้เป็นเทพมีฤทธิ์มาก ปลดเปลื้องมิจฉาทิฏฐิพระเจ้าอยู่หัวได้  ด้วยอานุภาพของพระโพธิสัตว์   แม้ชนชาวมิถิลาอยู่ไกลตั้งโยชน์ก็ได้ยินพระธรรมเทศนาทุกคน

พระโพธิสัตว์คิดว่า พระราชานี้ยึดมิจฉาทิฏฐิเสียมั่นแล้ว     จำเราจะต้องข่มขู่ด้วยไฟนรก   ให้ละมิจฉาทิฏฐิแล้วจึงค่อยให้ยินดีในเทวโลกภายหลัง  จึงกราบทูลว่า   

ขอถวายพระพร ถ้าพระองค์ยังไม่ละทิฎฐิ ก็จะต้องไปเกิดในนรกซึ่งเต็มไปด้วยทุกขเวทนา พระองค์จะถูกฝูงกา ฝูงแร้  ฝูงสุนัข รุมยื้อแย่งฉุดคร่าฉีกร่างออกเป็นชิ้นๆ ใครเล่าจะไปทวงเงิน ๑๐๐๐ กหาปณะจากพระองค์ได้  

ครั้นพระนารทฤาษี  พรรณนาถึงนรกอันเต็มไปด้วยฝูงกาและนกเค้าแก่ท้าวเธอแล้ว    จึงกราบทูลว่า   

ถ้าพระองค์ไม่ไปเกิดในนรกนั้น    ก็จะบังเกิดในโลกันตนรกมืดที่สุด  ไม่มีพระจันทร์และพระอาทิตย์ โลกันตรกมืดตื้ออยู่ทุกเมื่อน่ากลัว  กลางคืนกลางวัน   ไม่ปรากฏ  

มีสุนัขเขี้ยวเหล็ก  อยู่  ๒  ฝูง   คือ ฝูงสุนัขด่าง และฝูงสุนัขดำล้วนมีร่างกายกำยำล่ำสันแข็งแรงรุมกัดกินพระองค์ตัวขาดกระจัดกระจาย   เลือดไหลโทรม 

มีห่าฝนอาวุธประกายวาว   ดังถ่านเพลิงลุกโชนตกบนศีรษะ  และห่าฝนสายอัสนีศิลาอันลุกโชนปรากฏในอากาศ    ตกลงบนศีรษะของพระองค์ผู้ทำกรรมชั่วช้า  มีพวกนายนิรยบาลชื่อ "กาลูปกาละ" พากันเอาดาบหอกอันคมกริบทิ่มแทงสัตว์นรกที่พากันวิ่งหนีสุนัข                

พระองค์ถูกเทียมรถวิ่งไปวิ่งมา บนแผ่นดินที่มีเปลวไฟลุกโชนร้อนแรงง ถูกแทงด้วยประตักเหล็กให้วิ่งขึ้นภูเขาที่ไปด้วยขวากหนามเหล็ก   มีถ่านไฟลุกโชนร้อนแรง ถูกไฟไหม้ทนไม่ไหว  ตัวขาดกระจัดกระจายเลือดไหลโทรม ร้องครวญครางน่าสยดสยอง 

มีต้นงิ้วสูงเทียมเมฆ เต็มไปด้วยหนามเหล็กคมกริบ  กระหายเลือด หญิงผู้นอกใจสามี    และชายผู้เป็นชู้กับภรรยาผู้อื่น     ถูกนายนิรยบาล ถือหอกไล่ทิ่มแทงสั่งให้ปีนขึ้นต้นงิ้ว แม้มหาบพิตรรก็ต้องปีนขึ้นต้นงิ้วในนรกเลือดไหลเปรอะเปื้อน มีกายเหี้ยมเกรียม ปอกเปิกกระสับกระส่าย   ประสบความเจ็บปวดทุกข์ทรมาน

มีแม่น้ำเวตรณี   น้ำเป็นกรด  แสบร้อน เต็มไปด้วยบัวเหล็กใบคมกริบ ยากที่จะข้ามได้ ไหลเย็นสงบนิ่งอยู่ เมื่อมหาบพิตร  กระโจนลงไปหมายจะดื่มน้ำก็จะถูกบัวเหล็กขาดหัวตัดตัวกระจัดกระจาย   ลอยอยู่ในแม่น้ำเวตรณีนทีนั้น  

เจ้าหนี้คนไรเล่า  จะบังอาจตามไปทวงเงิน ๑,๐๐๐ กหาปณะจากพระองค์ในนรกนั้นได้

พระเจ้าอังคติราช ทรงสดับนิรยกถาของพระโพธิสัตว์นี้   ทรงสลดพระหฤทัย  เมื่อจะทรงแสวงหาที่พึ่งจากพระโพธิสัตว์  จึงตรัสว่า ข้าพเจ้าแทบจะล้มทั้งยืนเหมือนต้นไม้ถูกตัด   ข้าพเจ้าหลงเข้าใจผิดจึงไม่รู้จักทิศ   ท่านฤาษี   ข้าพเจ้าได้ฟังคาถาภาษิตของท่านแล้ว  กลัวเหลือเกิน ร้อนใจเหลือเกิน  ขอท่านจงเป็นที่พึ่งของข้าพเจ้า เหมือนน้ำแก้กระหายในเวลาร้อน   เหมือนเกาะเป็นที่อาศัยในห้วงมหาสมุทร และประทีปส่องสว่างในที่มืด  จงสั่งสอนอรรถและธรรมข้าพเจ้า    ข้าพเจ้าได้ทำความผิดไว้มากเหลือเกิน  ขอท่านจงบอกทางบริสุทธิ์แก่ข้าพเจ้า    ที่จะไม่ทำให้ข้าพเจ้าไปตกนรกด้วยเถิด

สู่เส้นทางสวรรค์
พระโพธิสัตว์  ทูลบอกทางอันบริสุทธิ์แก่พระเจ้าอังคติราชนั้น ถึงข้อปฏิบัติชอบของพระราชาในปางก่อน โดยยกเป็นอุทาหรณ์จึงกล่าวว่า  

พระราชา  ๖  พระองค์  คือ   พระเจ้าธตรฐ   พระเจ้าเวสสามิตร  พระเจ้าอัฏฐกะ พระเจ้ายมทัตติ  พระเจ้าอุสสินนระ พระเจ้าสิวิราช และพระราชาพระองค์อื่นๆ ได้ทรงบำรุงสมณพราหมณ์ทั้งหลายแล้วเสด็จไปยังสวรรค์ แม้พระองค์ก็เป็นพระเจ้าแผ่นดินเช่นกัน พระองค์ก็จงงดเว้นอธรรม แล้วทรงประพฤติธรรม ขอให้เหล่าทหารจงถืออาหารไปประกาศภายในพระราชนิเวศน์ และภายในพระนครว่า   ใครหิว   ใครกระหาย   ใครต้องการมาลา  ใครต้องการเครื่องลูบไล้  ใครขาดแคลนผ้านุ่งห่ม  จงรับ   มหาบพิตรอย่าใช้คนแก่เฒ่า   และโคม้าที่แก่ชรา  

ครั้นพระมหาโพธิสัตว์แสดงทานกถาและศีลกถา แล้วได้แสดงธรรมต่อไปว่า ตั้งแต่นี้ไปพระองค์จงเลิกคบคนชั่วเป็นมิตร  เข้าไปใกล้กัลยาณมิตร  อย่าทรงประมาท ดังนี้แล้ว พรรณนาคุณของเจ้าหญิงรุจาราชธิดา  ให้โอวาทแก่ข้าราชบริพารของพระเจ้าแผ่นดินตลอดจนนางในแล้ว  ได้กลับไปสู่พรหมโลก  ขณะที่มหาชนกำลังอยู่นั่นเอง ด้วยอานุภาพอันใหญ่                   

พระเจ้าอังคติราช   ทรงตั้งอยู่ในโอวาทของพรหมนารทะ   ละมิจฉาทิฏฐิ  บำเพ็ญบารมีทานเป็นต้น    ครั้นสวรรคตแล้วได้ไปเกิดในเทวโลก

สรุปเรื่องนารทะชาดก
ครั้นพระบรมศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้วจึงตรัสว่า    ภิกษุทั้งหลาย   ไม่ใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้น    แม้ในกาลก่อนเราก็ทำลายข่าย คือ  ทิฏฐิแล้วทรมานอุรุเวลกัสสปะเช่นกัน   ทรงประชุมชาดกในตอนจบว่า อลาตเสนาบดีในอดีตชาติได้เกิดมาเป็นพระเทวทัต     สุนามอำมาตย์เป็นพระภัททชิ  วิชยอำมาตย์เป็นสารีบุตร  ผู้อเจลกะชื่อคุณาชีวกเป็นสุนักขัตตะ   ลิจฉวีบุตร   พระนางรุจาราชธิดา ผู้ทรงทำให้พระราชาเลื่อมใสเป็นพระอานนท์ พระเจ้าอังคติราชผู้มีทิฏฐิชั่วในกาลนั้นเป็นพระอุรุเวลกัสสปะ ส่วนมหาพรหมโพธิสัตว์เป็นเราตถาคต

.........................

ครั้นพระบรมศาสดาประชุมชาดกแล้ว จึงทรงแสดงอนุปุพพิกถา เมื่อทุกคนมีจิตสงบปราศจากนิวรณ์ มีจิตเบิกบานผ่องใสแล้ว จึงทรงแสดงด้วยอริยสัจ ๔ คือ ทุกขสัจ สมุทยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ  พระเจ้าพิมพิสาร พร้อมด้วยพราหมณ์ คหบดี ชาวมคธจำนวน ๑๑ นหุต ได้ดวงตาเห็นธรรมบรรลุโสดาบัน ส่วนพราหมณ์คหบดีอีก ๑ นหุต  ขอแสดงตนเป็นอุบาสก

ครั้นพระเจ้าพิมพิสารทรงบรรลุธรรมแล้ว ปราศจากความสงสัยแล้ว  ถึงความเป็นผู้แกล้วกล้า ไม่ต้องเชื่อผู้อื่นนอกจากคำสอนของพระบรมศาสดา  จึงกราบทูลว่า  เมื่อหม่อมฉันยังเป็นราชกุมาร มีความปรารถนา ๕ ประการ คือ
                ๑. ขอเราได้รับอภิเษกในราชสมบัติ
                ๒. ขอพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จมาสู่แว่นแคว้นของเรา
                ๓. ขอเราได้เข้าเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
                ๔. ขอพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นจงแสดงธรรมแก่เรา
                ๕. ขอเรารู้ทั่วถึงธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
บัดนี้  ความปรารถนาของหม่อมฉันสำเร็จแล้วทั้ง  ๕ ประการ  ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งและไพเราะยิ่งนัก เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือส่องประทีปในคืนมืด ด้วยตั้งใจว่าคนมีจักษุจะมองเห็น หม่อมฉันขอถึงพระผู้มีพระภาคเจ้า พระธรรม และพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ  ขอพระองค์ทรงจำหม่อมฉันไว้ว่า เป็นอุบาสกผู้มอบชีวิตถึงสรณะ จำเดิมแต่บัดนี้เป็นต้นไป  แล้วนิมนต์พระผู้มีพระภาคเจ้า พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ทรงรับภัตตาหารในพระราชนิเวสน์ในวันรุ่งขึ้น

พระเจ้าพิมพิสารรับสั่งให้จัดเตรียมภัตราหารอย่างประณีต  เมื่อราตรีนั้นผ่านไปแล้ว ได้ให้เจ้าพนักงานไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่าถึงเวลาแล้ว พระบรมศาสดาทรงครองผ้า ถือบาตร เสด็จดำเนินสู่กรุงราชคฤห์พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่จำนวนหนึ่งพันรูป  ซึ่งเคยเป็นนักบวชชฎิลมาก่อน

ในกาลนั้น  ท้าวสักกะจอมเทพ  ทรงแปลงเป็นมาณพ  เสด็จดำเนินนำหน้าพระภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข  พลางขับคาถาสดุดีพระบรมศาสดาโดยประการต่างๆ

ประชาชนได้เห็นท้าวสักกะจอมเทพแล้ว  พากันกล่าวว่า  พ่อหนุ่มนี้เป็นใครกัน ช่างมีรูปงามน่าชมนัก  ท้าวสักกะได้ตอบประชาชนว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใด  เป็นปราชญ์ ทรงฝึกอินทรีย์ทั้งปวงแล้ว เป็นผู้ประเสริฐหาบุคคลเปรียบมิได้พ้นแล้วจากกิเลส  เสด็จไปดีแล้ว  เป็นพระอรหันต์ในโลก ข้าพเจ้าเป็นผู้รับใช้ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์

พระบรมศาสดาเสด็จดำเนินพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์  ไปสู่พระราชนิเวศน์ของพระเจ้าพิมพิสาร  ประทับนั่งบนพระพุทธอาสน์ที่จัดถวาย  พระเจ้าพิมพิสารทรงอังคาสภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขด้วยพระองค์เอง

เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเสวยเสร็จแล้ว พระราชามีพระราชดำริว่า  พระบรมศาสดาควรประทับอยู่ในสถานที่ไม่ใกล้ไม่ไกลนัก สะดวกด้วยการคมนาคม  ควรที่ประชาชนผู้ต้องประสงค์จะเข้าไปเฝ้าได้  กลางวันไม่พลุกพล่าน กลางคืนเงียบสงัด สมควรเป็นที่หลีกเร้นอยู่ตามสมณวิสัย

พระเจ้าพิมพิสารทรงพิจารณาว่าสวนเวฬุวัน ไม่ใกล้ไม่ไกล สะดวกด้วยการคมนาคม กลางวันไม่พลุกพล่าน กลางคืนเงียบสงัด เป็นสถานที่ควรแก่ผู้ต้องการความสงบ สมควรเป็นที่หลีกเร้นอยู่ตามสมณวิสัย ทรงตัดสินพระทัยว่า เราพึงถวายสวนเวฬุวัน แก่ภิกษุสงฆ์อันมีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข

พระราชาจึงตรัสสั่งให้จัดเตรียมสุวรรณ ทรงหลั่งทักขิโณทก น้อมถวายสวนเวฬุวันแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยพระดำรัสว่า หม่อมฉันขอถวายสวนเวฬุวัน  แก่ภิกษุสงฆ์ อันมีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข  พระพุทธเจ้าข้า

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับและอนุโมทนา ทรงยังพระเจ้าพิมพิสารให้รื่นเริงด้วยธรรมีกถา





In the Kingdom of Videha, there lived King Angati and his beautiful daughter, Ruja. Ruja was his greatest joy, for though he had sixteen thousand wives, she was his only child. Upon her he lavished his wealth, sending her baskets of flowers, delicate trinkets, and garments of spun gold and silver. He even entrusted to her the honor of distributing every two weeks a thousand pieces of gold to the poor and sickly. This almsgiving won him the love of his people and the admiration of his daughter.
On the eve of the great festival of the full moon, King Angati, freshly bathed and dressed, stood with his three chief advisers surveying from his terrace the white city beneath him. As the streets gleamed with the rays of the advancing moon, the king turned to his counselors and asked, "How best shall we amuse ourselves on this festival eve?"

The first one, General Alata, suggested conquering new lands. The second, who was in charge of the king's diversions, thought only of feasting and dancing. The third, the chief court Brahmin, knew of a naked ascetic living in the forest just outside the city and felt that it would be most entertaining to go seek out his advice. Since King Angati had always enjoyed listening to ascetics, he agreed to the Brahmin's suggestion.
Thus the royal chariot, made of solid ivory, was polished and covered with silver ornaments for the king's nocturnal journey. White were the four swift horses that drew it, white was the seven-tiered umbrella, white the royal fan. From a distance, the king in his shining chariot could have been a shaft of moonlight.

As he and his entourage approached the center of the forest, they saw a crowd surrounding a naked man seated on the ground and knew this must be Guna the ascetic. Not wanting to disturb the gathering, the king alighted from the chariot and greeted Guna on foot. After exchanging respectful words with him, King Angati seated himself at one side on a small mat covered with squirrel skins and told Guna the purpose of his visit. "The festival of the full moon is upon us," he said, "and we have come to ask you to remove some doubts from our minds."

He then proceeded to ask him the rules of right behavior toward parents and teachers, wives and children, Brahmins and the aged, the army and his people, adding, "And most important, we should like to know how it is that some men go to hell while others find their way to heaven."
Now, it happened that at that time and in that land there was no true sage to whom men could turn for advice, and by default Guna, though merely an ignorant ascetic, childish and given to half-truths, had gained a reputation for wisdom. Thus when Guna seized this occasion to recite his heretical theories, many people believed him. He spoke in this way: "There is no right or wrong way to behave. Whatever you do, whether it be virtuous or evil, has no effect on your future, for your life is arranged in advance of your birth. Whether a man thrusts his sword into his enemy's heart or whether he gives alms is irrelevant to a life over which we have no control. Hell? Heaven? Nonsense ! There is no other world than this. So follow your own will and seek your own pleasure."

After Guna had finished his shocking speech, General Alata was the first to speak. "That confirms what I have always felt, for in a former birth I was a hunter, killing sacred cows and committing many wrongs. And yet do you see me suffer in this life? I am a prosperous general and have never been sent to hell."
Then a slave dressed in rags tearfully related how he had always been and still was a virtuous man, never failing to give alms in previous lives. "But look upon me now," he said, "a prostitute's son, with hardly enough to eat, and still I give half of my food away to those as hungry as I, and still I keep the fast days. But my past and present virtues go unheeded, alas!"

King Angati, swayed by the stories he heard, spoke of his own unfailing devotion to almsgiving, but still he was not satisfied, saying, "Though I have not suffered as a result of my good deeds, I have not had a bit of enjoyment from them either." And convinced of the truth of Guna's words, he abruptly turned from the ascetic and, without saluting him, departed.

From then on, he resolved to make no further effort to do good. He relinquished all cares and unpleasant kingly duties to his advisers. He no longer made decisions. He busied himself only with watching others at work and at play. Since nothing he did was to have any consequences, he reasoned, he would have no more to do with the business of life. Worst of all, he stopped giving alms.

A month passed, and his subjects lamented the loss of their king's interest in them. Ruja wept for her father, for she heard the mourning of his unhappy people and saw him harden his heart and close his ears to reason.
On the next festival of the full moon, Ruja dressed herself in her finest garments, gifts from her father, and entered his court. When he inquired how she was enjoying life, she answered that she lacked only one thing. She explained: "Tomorrow, my father, is the sacred fifteenth day. Please order, if you will, your courtiers to bring me a thousand pieces of gold that I may bestow them at once upon the people, as has been your custom."

Her father replied indifferently, "Alms? Give away our gold? I have no wish to carry on such a foolish custom. Destiny makes us what we are. For what reason should I waste my wealth? Please do not annoy me further with such inconsequential matters, my daughter."

Ruja realized with horror that her father had truly strayed from the holy precepts. She pleaded with him thus: "O my father, I have heard that he who listens to fools himself becomes a fool and that he who lets himself be led by children himself becomes a child. I fear that Guna's words have turned you into such a person. As for your prosperous General Alata, he is merely reaping the good from past acts of merit, but it will soon be used up and he will go straight to hell. The beggar who ranted to you of his sufferings must be making up for some grave misdemeanor in his past and will soon come to the end of his misery. The good he is doing now, along with his accumulated merit, will bring him to know the joys of heaven."

Then Ruja related how she herself, seven births ago, was born as a blacksmith's son who, with his wicked friends, used to corrupt other men's wives. As a result, in succeeding lives Ruja had been born as a castrated goat, a monkey whose father had cruelly removed his son's testicles, a eunuch, and other mutilated beings. Though the king still loved his daughter, he was unmoved by her arguments and refused to budge from his fixed opinions.
Ruja then stepped to one side of the court, knelt down, and with her hands together above her head, made reverences in ten directions to the highest deities, those in the Brahma heavens, begging them to give some sign which would shock her father out of his heresy.


At that moment the Bodhisatta, whose name was Narada and who was the Great Brahma of that time, was looking earthward from his seat in his heaven. He happened to hear Ruja's supplications and decided to help her. Before taking the journey to earth, he thought to himself, "There is none other than I who can drive away false doctrines. I shall go to the king in some unusual garb so that first my appearance and then my words will arrest his attention. King Angati values ascetics. I will dress like the most striking of them, and when he sees me, he will listen well."

The four-faced Great Brahma dressed according to his word, in a red-mottled garment with a black antelope skin over one shoulder. He carried a golden pole on his shoulders from which two golden begging bowls were suspended by strings of pearls. His hair was matted as is the custom of ascetics, but with a golden needle tucked inside. Thus arrayed, he sped through the sky like the moon when the clouds race past it on a windy night, and stood suspended in the air before the king and his court.
Ruja, who had returned to the king's side, immediately recognized the Brahma and bowed down to pay reverence to him. But the king, alarmed by the heavenly presence, rushed down from his throne to cry, "Who are you? From where do you come?"

Narada answered in this solemn way: "I am the Great Brahma from the Brahma heavens. I have come to tell you, King Angati, that you are condemning yourself to hell."
"I say there is no heaven or hell," Angati boasted. "To prove it, lend me five hundred pieces of gold, and if I am wrong, I will return one thousand pieces to you from hell when I am there."
Narada warned him in this way: "If you were a virtuous man, I would gladly lend you gold, for it is not hard to collect a debt from a man in heaven. But men like you, denying the precepts, following false doctrines, are bound for hell, and when you hear what I will tell you about hell, you will see that no one would dare collect a debt from a man in such a place. There is not just one hell, but a thousand hells. Animals of all sizes will chew on your skin and bite at your bones. Flocks of ravens, crows, and vultures will prey upon you. Dogs with iron teeth will tear at your entrails. Hot winds, razor-edged mountains, burning coals, and sword-leafed trees will torture you."

At last Angati was moved and trembled with fear. He looked to the Bodhisatta for help and asked him humbly how he could uncloud his mind and regain his senses. Narada then told him that while he was king and in good health, he should assume the responsibilities of his realm, providing for the poor, the hungry, the aged, and the Brahmins. "Let your mind guide your body, making you a sure but self-restrained man," he said. "Only then will you find the path to heaven. Let your daughter teach you, for she has learned the right way."
King Angati begged forgiveness and, with his daughter, bowed in reverence and gratitude to the Bodhisatta, who then turned and sped back to the Brahma world.





source :   buddha-images.com
                jariyatam.com


No comments:

Post a Comment